ศุุภกาญจน์ ตันติกัลยาภรณ์


วิธีปฏิบัติที่ดีเยี่ยม (Best Practices)
เรื่อง   การนิเทศโรงเรียนคุณธรรมชั้นนำ รูปแบบนิเทศนิทัศน์


ของ นางศุภกาญจน์  ตันติกัลยาภรณ์
ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ
กลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาภูเก็ต

1.  ความเป็นมาและปัญหา
                ได้น้อมนำ พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ที่ทรงพระราชทานแนวพระราชดำริเกี่ยวกับการศึกษาไว้เมื่อปี พ.ศ.2542   “การศึกษาเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างและพัฒนาความรู้ ความคิด ความประพฤติและคุณธรรม ของบุคคล สังคมและบ้านเมืองใดให้การศึกษาที่ดีแก่เยาวชนได้อย่างครบถ้วน ล้วนพอเหมาะกันทุกด้าน สังคม และบ้านเมืองนั้น ก็จะมีพลเมืองที่ธำรงรักษา ความเจริญมั่นคงของประเทศชาติไว้ และก้าวพัฒนาไปได้โดยตลอด( http://nittaya-myproductions.blogspot.com/)   จากการนิเทศพบว่าครูขาดทักษะการจัดการเรียนรู้ ยังไม่ปรับการเรียนเปลี่ยนการสอนเท่าที่ควร  ทำให้นักเรียนยังขาดทักษะการคิดวิเคราะห์   ทักษะการพูด การฟัง การอ่าน การเขียน  จึงได้ วางแผนพัฒนารูปแบบวิธีปฏิบัติการนิเทศ ที่ดี (Best  Practices) ในการนิเทศโรงเรียนคุณธรรมชั้นนำ รูปแบบนิเทศนิทัศน์  ด้วยกิจกรรมเรื่องเล่าเร้าพลัง   ที่ส่งเสริมสนับสนุนให้ครูผู้สอน ปรับการเรียนเปลี่ยนการสอนพัฒนาการจัดการเรียนรู้  ทักษะการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์  ทักษะการฟัง ปลูกจิตสำนึกที่ดี สร้างพลังให้ผู้เรียนมีคุณธรรม  นำความดีความออกสู่การยอมรับของสังคม  มีสื่อการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียน     ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน มุ่งสู่คุณภาพการศึกษาและมาตรฐานการศึกษาอย่างยั่งยืน

2.  แนวคิด หลักการ ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง           
                     แนวคิดที่  1 รูปแบบการนิเทศ  ได้นำแนวคิดเกี่ยวกับ  ขั้นตอนการนิเทศแบบ วงจรคุณภาพการบริหารงาน (DEMING CYCLE)    การนิเทศเพื่อพัฒนา  รูปแบบการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้
                  แนวคิดที่  2  ด้านการนิเทใช้แนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม   ทฤษฎีแรงจูงใจ   การจัดการความรู้(KM)   กระบวนการนิเทศ(ของ สงัด อุทรานันท์)  การนิเทศที่ประสบผลสำเร็จ                        (ของอัญชลี  ธรรมะวิธีกุล) รูปแบบการนิเทศแบบเสริมพลัง
                  แนวคิดที่  3   ด้านเทคนิคการนิเทศ  ใช้เทคนิคการสอนแนะ    เทคนิคกัลยาณมิตร  เทคนิค แบบพาคิดพาทำ เทคนิคร่วมพัฒนา ของสถาบัน  เทคนิคการแลกเปลี่ยนเรียนรู้   เทคนิคการร่วมแรงร่วมใจ  
                   แนวคิดที่ ด้านกิจกรรมการเรียนรู้   ใช้ทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิด  ทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความสุข ทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิด ทฤษฎีการเสริมแรง  ทักษะกระบวนการคิดตามแนวปัญญา ของพระธรรมปิฏก (ประยุทธ์  ปยตโต) แนวคิดการจัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551    คุณภาพผู้เรียน  สมรรถนะ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์  การจัดการความรู้(KM)  คุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการ
   โครงสร้างการดำเนินงานการนิเทศ “รูปแบบนิเทศนิทัศน์” 

 กรอบแนวคิดในการวิจัย


3. วัตกุประสงค์
          2.1   เพื่อพัฒนาการนิเทศ โรงเรียนคุณธรรมชั้นนำ  “รูปแบบนิเทศนิทัศน์”
          2.2   เพื่อส่งเสริมโรงเรียนคุณธรรมชั้นนำ ในการขับเคลื่อนการนิเทศ “รูปแบบนิเทศนิทัศน์” ลงสู่วิธีการปฏิบัติกิจกรรมเรื่องเล่าเร้าพลัง  
        นิยามศัพท์ 
               การนิเทศ รูปแบบนิเทศนิทัศน์  หมายถึง  การนิเทศ ติดตามและประเมินผล ก่อนและหลังปฏิบัติงาน  ด้วยกระบวนการ ขั้นตอน              
                 ขั้นที่ การสร้างความตระหนัก (Awareness) มีการประสานงาน ประชุมชี้แจง กระตุ้น สร้างความตระหนักในการปลูกจิตสำนึกนำคุณธรรมความดีที่ฝังลึกอยู่ในตัวผู้เรียนออกมาเผยแพร่ให้ชมนิทรรศการ ดูBest Practices  และดูงานโรงเรียนต้นแบบจัดกิจกรรมเรื่องเล่าเราพลัง   
                 ขั้นที่  2  นำสู่การปฏิบัติและพัฒนา ( Performance and Development)
                 ขั้นที่  3  พากเพียรนิเทศ  ติดตามและประเมินผล (Controlling Supervision)   
                 ขั้นที่  จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ชมนิทรรศการ ( Show   Shop    Share ) ให้การนิเทศหลังปฏิบัติกิจกรรม ประชุมครู ทบทวนปัญหา และแนวทางพัฒนา
                 ขั้นที่ 5   วันแห่งเกียรติยศ   (Rewarding) 
                 ขั้นที่  รายงานสรุปผลการดำเนินงาน  (Report)
                 ขั้นที่  7  เผยแพร่ผลงาน  (Propagation)

4.   เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการปฏิบัติการวิจัย   ได้แก่ ตัวผู้วิจัยเอง  แบบสะท้อนความรู้สึกนึกคิด แบบสัมภาษณ์  แบบสังเกต  แบบบันทึกการสัมภาษณ์

5.   การเก็บรวบรวมข้อมูล
       การเก็บข้อมูลในสนาม      
    ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้ดำเนินการดังนี้
                   ก่อนลงมือเก็บข้อมูล
               1.  ทบทวนความมุ่งหมาย(วัตถุประสงค์)ว่า ว่าจะเก็บข้อมูลอย่างไร ใช้เครื่องมืออะไรให้สอดคล้องกัน   แล้วออกแบบเครื่องมือ   จึงกำหนดกลุ่มเป้าหมายและจะนิเทศโรงเรียนโดยตรง  ที่จะเก็บข้อมูลเชิงลึกโดยการเลือกแบบเจาะจง (purposive sample) จำนวน 10 คน คือ สัมภาษณ์ผู้บริหาร 5 คน  และครู  5 คน
               2.  วางแผนการเก็บข้อมูลจากแหล่งข้อมูลคือโรงเรียนคุณธรรมชั้นนำ ซึ่งเป็นครูและ ผู้บริหารที่เป็นโรงเรียนคุณธรรมชั้นนำ จัดกิจกรรมเรื่องเล่าเร้าพลัง  จะเก็บข้อมูลเชิงลึกด้วยวิธีการพูดคุยแบบไม่ให้ครูหรือ
และทำเป็นแบบสัมภาษณ์จะได้ถามไปในทิศทางเดียวกัน ข้อมูลจากการเขียน หรือบันทึก  ทำให้ง่ายต่อการวิเคราะห์ข้อมูล
               3.  เครื่องมือ  เครื่องมือที่ใช้ในการปฏิบัติการวิจัย ได้แก่ ตัวผู้วิจัยเอง  แบบสัมภาษณ์  แบบสังเกตแบบสอบถาม  แบบสะท้อนความรู้สึกนึกคิด     
                การให้ข้อมูลของผู้รับการนิเทศ โดยการสะท้อนความรู้สึกนึกคิด ผู้ตอบมีความเป็นอิสสระในการตอบเป็นเรื่องเล่าจากการปฏิบัติกิจกรรมเรื่องเล่าเร้าพลัง      
                การดำเนินการนิเทศ                
                   1.  ได้แจ้งผู้บริหารและครูโรงเรียนคุณธรรมชั้นนำ เชิญเข้าร่วมประชุม ณ กลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา สำนักงาเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภูเก็ต เพื่อทบทวนงานที่ได้ปฏิบัติที่ผ่านมา วิเคราะห์ปัญหา สร้างความตระหนัก ให้ความรู้ให้เห็นความสำคัญในการพัฒนากิจกรรมเรื่องเล่าเร้าพลัง ชม นิทรรศการ  Best  Practices ออกแบบกิจกรรม  ร่วมวางแผนการจัดกิจกรรมและกำหนดการนิเทศ
               2. ประสานงานรองผอ.สพป.ภูเก็ต(นายบุญเลิศ  รัตนปทุมวงศ์ ที่ควบคุมแผนกลยุทธ์ และเพื่อน ศึกษานิเทศก์(นาวิสุทธิ์  จันทิรา) ซึ่งไปเยี่ยมโรงเรียนด้วยกัน    
               3.  ประสานฝ่ายยานพาหนะ จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภูเก็ต 
               4.  ลงภาคสนาม  ติดตามผลการปฏิบัติกิจกรรมโรงเรียนคุณธรรมชั้นนำ เรื่องเล่าเร้าพลัง ตอนนักเขียนหน้าเดียว  ปีการศึกษา 2550 –  ปีการศึกษา 2555
               5.  การเก็บรวบรวมข้อมูลในภาคสนาม   ผู้วิจัยใช้วิธีการสังเกตโดยตรง (Direct Observation) แบบมีส่วนร่วม (participation observation) ควบคู่ไปกับการซักถาม   และใช้วิธีสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง (Unstructured Interview)  โดยเปิดกว้างไม่จำกัดคำตอบ    และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) บันทึกข้อมูล  (notetaking)   และการสนทนา พูดคุย (conversation)  ซักถาม (asked)ผู้บริหารและครูผู้สอน เป็นรายบุคคล  การตั้งคำถามที่สัมพันธ์กับตัวแปร   
                
6.   การวิเคราะห์ข้อมูล
              การวิเคราะห์ข้อมูลของการศึกษาครั้งนี้  ใช้การวิเคราะห์ด้วยมือ  ใช้ยุทธวิธีธรรมชาติในการวิจัยโดยทำการตีความข้อมูลที่ได้จากการจดบันทึก แบบสอบถาม และการสังเกต  เพื่อดึงความหมายออกจากข้อมูล  เพื่อนำมาสร้างเป็นภาพรวมทั้งหมด  หลังจากนั้นก็สร้างข้อมูลสรุปด้วยวิธีอุปนัย (Induction) มองภาพรวมรอบ ๆ ด้าน(Holistic Perspective) เพื่อเข้าใจระบบความคิด และแสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ผู้นิเทศกับผู้รับการนิเทศ   
  7.   กระบวนการพัฒนาวิธีปฏิบัติที่ดี  
การนิเทศ รูปแบบการนิเทศนิทัศน์   มีกระบวนการดำเนินงานตามขั้นตอน  7  ดังนี้
                ขั้นที่ การสร้างความตระหนัก (awareness)  มีการประสานงาน ให้การนิเทศ ประชุมชี้แจง  กระตุ้น  สร้างความตระหนัก วิเคราะห์ปัญหา  ชมนิทรรศการ  ศึกษาดูงานวิธีปฏิบัติกิจกรรมที่เป็นเลิศ  ร่วมวางแผน ร่วมพัฒนา
               ขั้นที่  2  นำสู่การปฏิบัติและพัฒนา ( Performance and Dvelopment)  ผู้บริหาร ประชุมครู วางแผนนำสู่การปฏิบัติ  ควบคุม ตรวจสอบผลงาน  เยี่ยมชมการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้นำเสนอนักเรียน จัดนิทรรศการจัดตลาดนัดนักเขียน  ปลูกจิตสำนึกนำคุณธรรมความดีที่ฝังลึกอยู่ในตัวผู้เรียนออกมาเผยแพร่ให้ปรากฏ ครูวิเคราะห์ปัญหา แนวทางพัฒนา  PDCA  นิเทศติดตามผลการปฏิบัติงาน   
              ขั้นที่  3  พากเพียรนิเทศ  ติดตามและประเมินผล (Controlling Supervision)  เยี่ยมชม ติดตาม  ผลการจัดกิจกรรมเรื่องเล่าเร้าพลังของโรงเรียน   ครูสะท้อนผลการปฏิบัติงาน  ให้การนิเทศเสริมเติมเต็ม  ร่วมวางแผน ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมพัฒนา   โรงเรียนนำ Best Practice  จัดทำสื่อการเรียนรู้เรื่องเล่าเร้าพลัง ส่งสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
              ขั้นที่ จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ชมนิทรรศการ ( Show   Shop    Share )  เปิดเวทีให้ครูนำผลการจัดกิจกรรมมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระดับเขตพื้นที่การศึกษา  ชมนิทรรศการ คัดเลือกผลงานนักเรียน
              ขั้นที่  วันแห่งเกียรติยศ  (Rewarding)  คัดเลือกผู้บริหารดีเด่น  ครูแกนนำดีเด่น นักเรียนดีเด่นกิจกรรมเรื่องเล่าเร้าพลัง   มีพิธีมอบรางวัลแห่งเกียรติยศ เกียรติบัตร เชิดชู ชื่นชมผลงานแห่งการทำความดี  สร้างขวัญและกำลังใจในการทำงาน 
             ขั้นที่  6   รายงานผลการดำเนินงาน  (Report)  วิเคราะห์ สังเคราะห์  รูปแบบการนิเทศ  สรุป รายงานผลการดำเนินงาน 
             ขั้นที่  7  เผยแพร่ผลงาน  (Propagation) จั ดทำเอกสารเรื่องเล่าเร้าพลัง มอบให้โรงเรียน  มอบเขตการศึกษาอื่น  มอบศึกษานิเทศก์สพป. สพม.เขตอื่น ๆ    มอบสพฐ.  ผู้เกี่ยวข้อง   ผู้สนใจ
8.  ผลสำเร็จที่เกิดจากการพัฒนา วิธีปฏิบัติที่ดี
            8.1  ได้พัฒนาการปฏิบัติการนิเทศที่ดี รูปแบบการนิเทศนิทัศน์” นำไปพัฒนางานด้านการนิเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ  
            8.2  ครูโรงเรียนคุณธรรมได้รับการ ส่งเสริม สนับสนุนพัฒนาการจัดการเรียนรู้  ปรับการเรียนเปลี่ยนการสอน มีความกระตือรือร้นปลูกจิตสำนึกที่ดีให้ผู้เรียน มีขวัญและกำลังใจ มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมเรื่องเล่าเร้าพลัง ตอนนักเขียนหน้าเดียว  ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน  มุ่งสู่คุณภาพการศึกษาและมาตรฐานการศึกษาอย่างยั่งยืน
             8.3  ผู้เรียนได้รับการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์  ทักษะการฟัง สร้างพลังให้ผู้เรียนมีคุณธรรม  นำความดีความออกสู่การยอมรับของสังคม  ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา มุ่งสู่คุณภาพการศึกษาและมาตรฐานการศึกษาอย่างยั่งยืน
             8.4 โรงเรียน มีความพึงพอใจ   ได้ขับเคลื่อนจุดเน้นการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ส่งเสริมคุณธรรมผู้เรียน  มีผลงานประกอบการประเมินทั้งภายในและภายนอก  มีสื่อการจัดการเรียนรู้เพิ่มขึ้น  เผยแพร่ผลงานสู่สาธารณชน
            9.   กระบวนการตรวจสอบซ้ำ เพื่อพัฒนา/ปรับปรุงวีปฏิบัติที่ดีอย่างต่อเนื่อง
                  9.1 ใช้ระบบการบริหารจัดการ PDCA (Plan-Do-Check-Act) ซึ่งถือได้ว่าเป็นกิจกรรมพื้นฐานในการพัฒนาประสิทธิภาพและคุณภาพของการดาเนินงานการนิเทศโรงเรียนคุณธรรมชั้นนำ กิจกรรมเรื่องเล่าเร้าพลัง
                  9.2  ประชุมครู ผู้บริหารโรงเรียนคุณธรรมชั้นนำ เพื่อทบทวนผลการจัดกิจกรรมเรื่องเล่าเร้าพลัง นำมาปรับปรุง พัฒนาอย่างต่อเนื่อง

          10.  การประชาสัมพันธ์ผลสำเร็จ/การเผยแพร่และการขยายผล
                 10.1  เผยแพร่ผลงานการปฏิบัติการนิเทศที่ดีเยี่ยม  “รูปแบบการนิเทศนิทัศน์”    ในเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระดับจังหวัด ระดับภาคใต้
                 10.2  เผยแพร่ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกเป็นผู้บริหารดีเด่น ครูแกนนำดีเด่น  นักเรียนดีเด่น กิจกรรมเรื่องเล่าเร้าพลัง  
                 10.2 เผยแพร่เอกสารเรื่องเล่าเร้าพลังตอนนักเขียนหน้าเดียว   โรงเรียนคุณธรรมชั้นนำ   สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภูเก็ต ออกสู่สาธารณชน  

          11.  ข้อเสนอแนะ
                11.1  นำรูปแบบการนิเทศนิทัศน์ ไปใช้ในการนิเทศกับงาน/โครงการ/กิจกรรมอื่น ๆ
                11.2  ส่งเสริมครูแกนนำเป็นวิทยากรแกนนำโรงเรียนคุณธรรมชั้นนำ  ขับเคลื่อนกิจกรรมเรื่องเล่า  เร้าพลัง พัฒนาผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง